

การฝังเข็ม คืออะไร ?
การ ฝังเข็ม คือ การที่แพทย์แผนจีน ใช้เข็ม ขนาดเล็ก ไม่มีตัวยา ขนาด 0.16 – 0.22 มม. ฝัง บริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตามจุดเส้นลมปราณ จุดกดเจ็บ พังผืด กล้ามเนื้อ ( Trigger point ) เพื่อรักษาโรค อีกทั้ง การฝังเข็ม ยังได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ( WHO ) ว่าสามารถรักษาโรคได้ เช่น ปวดคอ ปวดหลังล่าง ปวดเข่า ปวดหัว ปวดสะโพกร้าวลงขา ( Sciatica pain ) ทั้งนี้ ความถี่ ในการรักษา ขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคล
นัดแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษา สอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับการฝังเข็มได้ ที่ Time Wellness Clinic
ข้อดีของการฝังเข็ม
- การฝังเข็ม ช่วยกระตุ้น ระบบไหลเวียนโลหิต ( Increase blood circulation ) ไปยังบริเวณที่ฝังให้ เลือดไหลเวียน ทั่วร่างกาย ลดความตึงตัว ของ กล้ามเนื้อ ( Release muscle tension ) และ สลายพังผืดกล้ามเนื้อ ( Trigger point ) ซึ่งเป็นหนึ่ง ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือ Office syndrome
- ช่วยกระตุ้น การทำงาน ของระบบประสาท จาก อวัยวะด้านล่าง สู่ อวัยวะด้านบน เพื่อกระตุ้น การทำงาน ของสมอง ช่วยกระตุ้นการทำงานของ ต่อมน้ำเหลือง เพื่อให้ร่างกายขับสารพิษ ออกมาตามท่อน้ำเหลืองได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วย ปรับ ความสมดุล การทำงาน ของระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic nervous system : ANS ) เพื่อส่งเสริม ให้ร่างกายสมดุล ทั้งระบบ ซึ่งทำให้ อาการนอนไม่หลับ เครียด ภาวะซึมเศร้า อาหารไม่ย่อย ดีขึ้น


การฝังเข็ม ฝังแล้ว เจ็บไหม ?
การฝังเข็มนั้น ไม่เจ็บเลย เมื่อฝังเข็ม แล้วจะรู้สึกถึง ความตึง ๆ หน่วง ๆ เรียกว่า เต๋อชี่ ( 得气 ) เนื่องจาก กระแสประสาท และ เลือดปริมาณมาก ถูกส่งมาเลี้ยง และ ไหลผ่าน บริเวณที่ฝังเข็ม ทั่วทั้งร่างกาย จึงทำให้รู้สึกเต๋อชี่ บริเวณที่ฝังเข็ม และ ยังหมายถึง การฝังเข็มถึงจุดแล้ว อีกด้วย
การฝังเข็ม นานแค่ไหน บ่อยแค่ไหน ?
- การฝังเข็ม แต่ละครั้ง นานแค่ไหน ?
หลังจากแพทย์ฝังเข็ม ครบทุกจุด จะทิ้งเข็มไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และ กระแสประสาท ให้ไหลเวียนทั่วทั้งร่างกาย แล้วจึงนำเข็มออก ทั้งนี้ในบางกรณี สามารถเพิ่ม การกระตุ้นไฟฟ้า ขณะฝังเข็ม เพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น และ ยังร่นจำนวนครั้ง ในการฝังเข็ม ให้สั้นลงอีกด้วย
- ควรฝังเข็ม บ่อยแค่ไหน ?
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์ฝังเข็ม อาจแนะนํา ให้ทําการรักษา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไปจนถึง 2 สัปดาห์ครั้ง ซึ่งจํานวนครั้ง ของการรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ของอาการและ การตอบสนองของร่างกาย ซึ่งในบางราย อาจจำเป็นต้องได้รับการฝังเข็ม อย่างน้อย 5 ครั้ง จึงจะได้ประโยชน์จากการฝังเข็มอย่างเต็มที่ หรือ ในบางรายที่มีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับ โรคเรื้อรัง อาจจะต้องได้รับการฝังเข็ม ที่มากกว่า 5 ครั้ง เป็นต้น
สอบถาม รายละเอียด ปรึกษาแพทย์ นัดฝังเข็ม กับ Time Wellness Clinic
ฝังเข็ม แล้วเลือดออก ?
เนื่องจาก เข็ม ที่ใช้ใน การฝังเข็ม มีขนาดเล็กมาก ( 0.16 – 0.22 mm ) ทำให้มี โอกาสที่เลือดออก ได้น้อยมาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า จะไม่พบการเลือดออกเลย ซึ่งจริงๆแล้ว หากมีเลือดออก ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล การที่เลือดออกหลังจากถอนเข็มออกแล้ว ก็จะออกเพียง 1 หยด จากการโดน หลอดเลือดฝอย เส้นเลือดเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง ที่อยู่ข้างเคียงบริเวณจุด ฝังเข็ม เพียงเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ เลือดจะหยุดได้เอง โดยใช้ก้อนสำลีกดไว้ชั่วขณะ หรือ บางท่าน อาจไม่ได้มีเลือดออกมาให้เห็น แต่พบรอยเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือจ้ำเลือด รอยพวกนี้ ก็จะค่อย ๆ หายไปเองในเวลา 3 – 5 วัน
การฝังเข็ม มีข้อจำกัด อะไร ?
- สตรีมีครรภ์ เพราะ การฝังเข็ม อาจไปกระตุ้นให้คลอดก่อนกำหนด
- ผู้ที่เลือด มีความผิดปกติ เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ผู้ป่วย โรคฮีโมฟีเลีย เลือดออกง่าย หยุดไหลยาก ( Hemophilia ) , ผู้ที่มีประวัติ ทานยาลดการแข็งตัวของเลือด สลายลิ่มเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน ( Warfarin ) ยาแอสไพริน ( Aspirin , Baby Aspirin ) ติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ติดอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจ ( Pacemaker ) สามารถฝังเข็มได้ แต่ จะไม่สามารถฝังเข็ม กระตุ้นไฟฟ้าได้ เพราะเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า อาจไปรบกวน การทำงานของอุปกรณ์ กระตุ้นหัวใจได้ ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ก่อนการรักษา
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ยังไม่ได้รับการรักษา
- ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง
